วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1


แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1

รายวิชาคณิตศาสตร์ 1                                                       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1                                                                           ชื่อหน่วย  สมบัติของจำนวนนับ

เรื่อง  ตัวประกอบและจำนวนเฉพาะ                                              เวลา   1   ชั่วโมง

 

 


1. จุดประสงค์การเรียนรู้

                ด้านความรู้  : นักเรียนสามารถ

1.             หาผลคูณและผลหารจำนวนนับได้

2.             บอกความหมายของตัวประกอบของจำนวนนับได้

3.             หาตัวประกอบของจำนวนนับได้

4.             บอกความหมายของจำนวนเฉพาะได้

5.    หาจำนวนเฉพาะได้

ด้านทักษะ / กระบวนการ  :  นักเรียนมีความสามารถ

1.             ในการแก้ปัญหา

2.             ในการใช้เหตุผล

3.             ในการสื่อสาร การสื่อความหมายและนำเสนอ

ด้านคุณลักษณะ

1.             ตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

2.             สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ

3.             มีความรับผิดชอบ

4.             มีความเชื่อมั่นในตนเอง

2. สาระการเรียนรู้

                ตัวประกอบ

 
 



ตัวประกอบของจำนวนนับใด คือ จำนวนนับที่หารจำนวนนับนั้นลงตัว

 

                ตัวอย่างที่ 1          จงหาจำนวนนับที่เป็นตัวประกอบของ 15

                วิธีทำ      วิธีที่ 1 หาจำนวนนับต่างๆที่หาร 15 ลงตัวได้แก่

                                 1  หาร 15 ได้ผลหารเป็น 15 นั่นคือ  1 หาร 15 ลงตัว

                                 3  หาร 15 ได้ผลหารเป็น  5  นั่นคือ  3 หาร 15 ลงตัว

                                 5  หาร 15 ได้ผลหารเป็น  3  นั่นคือ  5 หาร 15 ลงตัว

                                15 หาร 15 ได้ผลหารเป็น  1  นั่นคือ 15 หาร 15 ลงตัว

                                จากการหารข้างต้นพบว่าจำนวนนับทุกตัวที่หาร 15 ลงตัว ได้แก่ 1,3,5 และ 15

                                ดังนั้น จำนวนนับที่เป็นตัวประกอบของ 15 คือ 1,3,5 และ 15

                                วิธีที่ 2 เนื่องจาก 1 หาร 15 ได้ผลหารเป็น 15 เราสามารถเขียนความสัมพันธ์นี้ใหม่

ได้ว่า 15 = 1 ´ 15 ซึ่งแสดงว่า 1 หาร 15 ลงตัว และ 15 หาร 15 ลงตัวด้วย เราจึงสามารถหาตัวประกอบของ 15 ได้ โดยพิจารณาจากการคูณของจำนวนนับที่มีผลคูณเป็น 15

                                15 = 1 ´ 15 จะได้ 1 และ 15 เป็นตัวประกอบของ 15

                                15 = 3 ´ 5   จะได้ 3 และ 5 เป็นตัวประกอบของ 15

                                ดังนั้น จำนวนนับที่เป็นตัวประกอบของ 15 คือ 1,3,5 และ 15

ตัวอย่างที่ 2          จงหาจำนวนนับที่เป็นตัวประกอบของ 36

                วิธีทำ      เนื่องจาก               36  =   1 ´ 36

                                                                36  =   2 ´ 18  

                                                36  =   3 ´ 12

                                                36  =   4 ´ 9

                                                36  =   6 ´ 6

                                ดังนั้น ตัวประกอบของ 36 คือ 1,2,3,4,6,9,12,18 และ 36

                จำนวนเฉพาะ

 


จำนวนนับที่มากกว่า 1 และมีตัวประกอบเพียง 2 ตัว คือ 1 และตัวเอง  เรียกว่า จำนวนเฉพาะ

 

                ตัวอย่างที่ 3 จงหาจำนวนเฉพาะที่อยู่ระหว่าง 1 ถึง 20

                ตัวอย่างที่ 4 พิจารณาจำนวนต่อไปนี้ ว่าจำนวนใดเป็นจำนวนเฉพาะ

                                                24 , 31 , 35 , 37

3. สื่อการเรียนรู้

1.             เอกสารฝึกหัด 1

2.    เอกสารฝึกหัด 2

3.    เอกสารฝึกหัดเพิ่มเติม

4.    หนังสือเรียนคณิตศาสตร์

 

 

4. กิจกรรมการเรียนรู้

1.             ครูสนทนาและซักถามนักเรียนเกี่ยวกับสูตรคูณแม่ต่างๆ โดยสุ่มนักเรียนให้ตอบเป็น รายบุคคล

2.             ครูยกตัวอย่างที่ 1ใช้การถาม-ตอบ โดยให้นักเรียนช่วยกันทำแล้วครูตรวจสอบความถูกต้อง

3.             ครูยกตัวอย่างที่ 2 ให้นักเรียนทุกคนทำ แล้วตรวจคำตอบของตัวเอง แล้วครูตรวจสอบความถูกต้อง

4.             ครูให้นักเรียนทำโจทย์พิเศษอีก 2 ข้อ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ แล้วให้นักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบ แล้วครูตรวจสอบความถูกต้อง

5.             จากตัวอย่างที่ 1 และตัวอย่างที่ 2 พร้อมทั้งโจทย์พิเศษ 2 ข้อ ให้นักเรียนพิจารณาลักษณะร่วมและใช้การสังเกตเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปว่า

 
 



ตัวประกอบของจำนวนนับใด คือ จำนวนนับที่หารจำนวนนับนั้นลงตัว

 

6.             ครูแจกเอกสารฝึกหัด 1 ให้นักเรียนทำข้อคู่แล้วเฉลย ครูตรวจสอบความถูกต้อง

7.    ครูให้นักเรียนใช้ความรู้เดิมบอกลักษณะของจำนวนเฉพาะ โดยครูมีส่วนร่วม เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า

จำนวนนับที่มากกว่า 1 และมีตัวประกอบเพียง 2 ตัว คือ 1 และตัวเอง  เรียกว่า จำนวนเฉพาะ


 

8.   ครูยกตัวอย่างที่ 3 ใช้การถาม-ตอบ โดยให้นักเรียนช่วยกันทำแล้วครูตรวจสอบความถูกต้อง

9.             ครูยกตัวอย่างที่ 4 ให้นักเรียนทุกคนทำ แล้วจับคู่แลกกันตรวจแล้วครูตรวจสอบความถูกต้อง

10.      ครูแจกเอกสารฝึกหัด 2 และเอกสารฝึกหัดเพิ่มเติม ให้นักเรียนทำเป็นการบ้าน พร้อม

ทั้งเอกสารฝึกหัด 1 ข้อที่เหลือ
ภาระงาน  เขียนกลอนเรื่องตัวประกอบ  จำนวนเฉพาะ  การแยกตัวประกอบ
ผลการเรียนรู้                       ใช้กระบวนการเขียนกลอนสื่อความหมายของตัวประกอบ จำนวนเฉพาะ  การแยก
ตัวประกอบ
ผลงานที่ต้องการ               กลอนเกี่ยวกับตัวประกอบ  จำนวนเฉพาะ  การแยกตัวประกอบ
ขั้นตอนการทำงาน            1.  ศึกษาวิธีการเขียนกลอนแบบต่าง ๆ
2.  ศึกษาเรื่องตัวประกอบ  จำนวนเฉพาะ  การแยกตัวประกอบ
3.  แต่งกลอนเรื่องตัวประกอบ  จำนวนเฉพาะ  การแยกตัวประกอบ
4.  ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนผลงานกับเพื่อนกลุ่มอื่นร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
5.  คัดเลือกกลอนที่นักเรียนแต่งได้ไพเราะและสื่อความหมายได้ครบถ้วนติดป้ายนิเทศ  
เกณฑ์การประเมิน              1.  ความถูกต้อง
2.  ความไพเราะของกลอน
3.  การใช้คำได้ถูกต้องตามหลักภาษา
 
 
 

               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น